logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • คำอธิบายของเกล็ดน้ำตาลที่หายไป (ในน้ำ)

คำอธิบายของเกล็ดน้ำตาลที่หายไป (ในน้ำ)

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 20 กันยายน 2561
Hits
2062

          ทุกคนต่างทราบดีว่า เมื่อผสมน้ำตาลลงในน้ำ เกล็ดน้ำตาลจะหายไปอย่างรวดเร็วเมื่อคนส่วนผสมนั้นให้เข้ากัน แต่เพียงแค่การที่เกล็ดน้ำตาลหายไปด้วยเหตุผลที่ว่ามันละลายน้ำนั้นอาจยังไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์เท่าไรนัก

8469 1

ภาพที่ 1 เกล็ดน้ำตาล
ที่มา https://pixabay.com ,Bru-no

          สถานะของสสารกับแรงระหว่างโมเลกุล

          สถานะทางกายภาพของสสารใด ๆ จะถูกกำหนดโดยแรงที่ยึดอนุภาคที่เป็นส่วนประกอบของสสารนั้นเข้าด้วยกัน เช่น แรงระหว่างโมเลกุล (Intermolecular forces) ของสสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง ซึ่งโมเลกุลที่เป็นส่วนประกอบจะยึดเหนี่ยวกันไว้ด้วยแรงระหว่างโมเลกุลที่มีความแข็งแรงภายในโครงสร้างผลึก ทำให้ของแข็งคงรูปร่างและไม่สามารถถูกบีบอัดให้มีปริมาตรลดลงได้ ในขณะที่สสารที่มีสถานะเป็นของเหลวจะมีแรงระหว่างโมเลกุลที่อ่อนแอกว่าของแข็ง ของเหลวจึงมีรูปร่างที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนรูปร่างไปตามภาชนะที่บรรจุ

          น้ำตาล (Sugar) เป็นสารประกอบอินทรีย์ในรูปแบบหนึ่งของคาร์โบไฮเดรตที่ประกอบไปด้วยธาตุคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน ซึ่งหากแบ่งชนิดของน้ำตาลตามขนาดของโมเลกุลจะสามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ มอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) และพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide) ทั้งนี้น้ำตาลเกือบทุกชนิดมีสูตรเคมีเป็น CnH2nOn เช่น น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวอย่างกลูโคสที่มีสูตรเคมีเป็น C6H12O6  อย่างไรก็ดีลักษณะของเกล็ดน้ำตาลที่เป็นของแข็งเป็นผลมาจากโมเลกุลของน้ำตาลมีแรงระหว่างโมเลกุลที่ยึดเหนี่ยวอนุภาคเข้าด้วยกันไว้อย่างมาก แต่เมื่อก้อนน้ำตาลหรือเกร็ดน้ำตาลสัมผัสกับน้ำ แรงโมเลกุลเหล่านั้นจะถูกแทรกแซงและทำให้เกร็ดน้ำตาลเสียรูปร่างไป

8469 2

ภาพที่ 2 โครงสร้างทางเคมีของน้ำตาลกลูโคส (ซ้าย) และฟรุกโตส (ขวา)
ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Sugar

          หากค้นหาข้อมูลโครงสร้างทางเคมีของน้ำตาลจะสังเกตเห็นว่า โมเลกุลของน้ำตาลประกอบไปด้วยหมู่ไฮดรอกซิล (Hydroxyl group) ซึ่งเป็นหมู่ฟังก์ชัน -OH ในสารอินทรีย์ นั่นแสดงให้เห็นถึงสภาพขั้วของโมเลกุล (Polarity of molecules) และความสามารถในการสร้างพันธะไฮโดรเจน (Hydrogen bond) กับโมเลกุลของน้ำที่อยู่รอบตัวมันได้

          น้ำ (Water) เป็นของเหลวที่พบได้โดยทั่วไป โดยโมเลกุลของน้ำประกอบไปด้วยไฮโดรเจน 2 อะตอมจับกับออกซิเจน 1 อะตอมด้วยพันธะโคเวเลนซ์  ทั้งนี้น้ำเป็นโมเลกุลที่มีขั้ว เนื่องจากออกซิเจนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electronegativity: EN) สูงกว่าไฮโดรเจน จึงทำให้ออกซิเจนมีขั้วลบ ในขณะที่ไฮโดรเจนมีขั้วบวก และด้วยคุณสมบัติของการมีขั้วนี้จึงทำให้แต่ละโมเลกุลของน้ำยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงระหว่างโมเลกุลซึ่งก็คือ พันธะไฮโดรเจนที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมไฮโดรเจนของน้ำโมเลกุลหนึ่งเข้ากับอะตอมออกซิเจนของน้ำอีกโมเลกุลหนึ่ง และแม้ว่าโมเลกุลของน้ำ 1 โมเลกุลจะสามารถจับกับโมเลกุลของน้ำได้อีก 4 โมเลกุลด้วยพันธะไฮโดรเจน แต่พันธะไฮโดรเจนนั้นจัดเป็นพันธะที่มีความอ่อนแอ เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและแตกหักได้ง่ายภายใต้ภาวะทางชีวภาพที่ปกติ

          น้ำตาลละลายน้ำ

          การละลาย (Dissolved) คือการที่อนุภาคของตัวถูกละลายแทรกตัวเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายได้ ทั้งนี้ปัจจัยในเรื่องของแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีผลต่อการละลายเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีโดยปกติแล้วการที่ตัวถูกละลายจะละลายได้ในตัวทำละลายได้นั้น สารทั้งสองชนิดจะต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน    

          คุณสมบัติความมีขั้วในโมเลกุลของน้ำ ทำให้น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดีสำหรับโมเลกุลที่มีขั้ว (Polar molecule) เช่นเดียวกัน ซึ่งจากข้อมูลข้างต้น โมเลกุลของน้ำตาลเป็นโมเลกุลที่มีขั้วเนื่องจากมีหมู่ไฮดดรอกซิล (-OH) จำนวนมากในโครงสร้างโมเลกุล เป็นผลให้โมเลกุลของกลูโคสดึงดูดโมเลกุลของน้ำได้ด้วยแรงระหว่างขั้ว (dipole-dipole forces) นอกจากนี้หมู่ไฮดรอกซิลของน้ำตาลยังสามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนกับโมเลกุลของน้ำได้ และด้วยความแข็งแรงของแรงระหว่างโมเลกุลของน้ำตาลและน้ำที่มีมากกว่าการยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลของน้ำตาล จึงทำให้น้ำตาลสามารถละลายน้ำได้

8469 3

ภาพที่ 3 น้ำตาลเป็นโมเลกุลที่มีขั้วจึงสามารถละลายได้ในน้ำ
ที่มา http://www.bio.miami.edu/tom/courses/protected/KAR/ch02/2_08.jpg

          การกวนหรือคนสารละลายเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยให้น้ำตาลละลายน้ำได้ง่ายขึ้น เนื่องจากการคนสารจะช่วยให้น้ำตาลแตกตัวเป็นอนุภาคเล็กๆ และสัมผัสกับโมเลกุลของน้ำได้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสาร สิ่งหนึ่งที่ควรทราบคือ การละลายน้ำของน้ำตาลเป็นการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเคมีจะต้องมีสารใหม่ที่มีองค์ประกอบและคุณสมบัติทางเคมีที่แตกต่างจากสารเดิมเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่น้ำตาลละลายน้ำเป็นเพียงสารละลายที่ไม่ได้ทำให้น้ำตาลมีปริมาณมากขึ้นหรือลดลง รวมทั้งเอกลักษณ์ขององค์ประกอบของสารก็ยังคงไม่มีความเปลี่ยนแปลงไปด้วย

แหล่งที่มา

Ashish. (2016, September 19). Why Does Sugar Disappear When It Dissolves In Water?.  Retrieved April 23, 2018, From https://www.scienceabc.com/pure-sciences/why-does-sugar-disappear-when-it-dissolves-in-water.html

Walt Volland. (2011, November 11). How Things Dissolve .  Retrieved April 23, 2018, From http://www.800mainstreet.com/9/0009-002-process.html

พันธะไฮโดรเจนระหว่างโมเลกุลของน้ำมีความสำคัญอย่างไร .  สืบค้นวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561.จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-biology1/Chapter2/Part3.html

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
น้ำตาล, Sugar, เกล็ดน้ำตาล, สารประกอบอินทรีย์, คาร์บอน, ออกซิเจน, ไฮโดรเจน, โมเลกุล, น้ำ, แรงระหว่างโมเลกุล, อนุภาค, ละลาย
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอาทิตย์, 22 กรกฎาคม 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8469 คำอธิบายของเกล็ดน้ำตาลที่หายไป (ในน้ำ) /article-chemistry/item/8469-2018-07-18-03-59-36
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
ก๊าซธรรมชาติ และ เซลเชื้อเพลิง เพื่อ สิ่งแวดล้อม
ก๊าซธรรมชาติ และ เซลเชื้อเพลิง เพื่อ สิ่...
Hits ฮิต (16947)
ให้คะแนน
น้องๆ ทราบหรือไม่คะ ว่าเชื้อเพลิงที่เราใช้กันในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ หรือ ...
เชื้อเพลิงจิ๋ว
เชื้อเพลิงจิ๋ว
Hits ฮิต (14477)
ให้คะแนน
...เชื้อเพลิงจิ๋ว... ธีรพัฒน์ เวชชสัมประสิทธิ์ มนุษย์นำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นแหล่งพลังงานเพื่อตอ ...
อุณหภูมิน้ำสำคัญอย่างไร
อุณหภูมิน้ำสำคัญอย่างไร
Hits ฮิต (8569)
ให้คะแนน
*หากไม่สามารถดูเอกสารได้บนเว็บ กรุณาติดตั้งโปรแกรม Adobe Reader หรือคลิกที่ Download Acrobat Reader ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
  • Raspberry Pi คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสำหรับด้านการศึกษา...
  • หินอ่อน (Marble)...
  • เทคโนโลยีกับสะเต็มศึกษา...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)