logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • ระบบการเรียนรู้ร่วมกัน
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • เคมี
  • ความ (ไม่) ลับของหมอก

ความ (ไม่) ลับของหมอก

โดย :
พรรณพร กะตะจิตต์
เมื่อ :
วันจันทร์, 03 กันยายน 2561
Hits
3974

         สภาพอากาศที่ถูกปกคลุมไปด้วยหมอกหนาซึ่งบดบังทัศนียภาพและทัศนวิสัยในการมองเห็นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อความปลอดภัยในการเดินทาง หรือหากว่าเกิดความเข้าใจผิดระหว่างหมอกกับฝุ่นละอองก็อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดีแม้ว่าจะมีความสับสนระหว่างหมอกและฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน หลายคนอาจยังไม่ทราบถึงข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดหมอกและประเภทของหมอก

8396 1

ภาพที่ 1 หมอกบดบังวิสัยทัศน์ในการขับขี่บนท้องถนน
ที่มา https://pixabay.com/th/ jplenio

          หมอกเกิดขึ้นได้อย่างไร?

          หมอกอาจทำให้รู้สึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลกเวทมนต์หรือฉากโรแมนติกในภาพยนตร์ แต่ในความจริงแล้วหมอก (Fog) คือ กลุ่มของละอองน้ำที่ลอยตัวในระดับต่ำเหนือพื้นดิน ซึ่งก่อตัวจากการที่ไอน้ำเกิดการควบแน่นในอากาศและเปลี่ยนสถานะเป็นหยดน้ำเล็กๆ จำนวนมาก

          ภายใต้สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ อากาศจะมีไอน้ำซึ่งเป็นน้ำที่อยู่ในสถานะแก๊ส โดยอากาศร้อนจะมีความสามารถในการกักเก็บไอน้ำได้มากกว่าอากาศเย็น แต่เมื่ออุณหภูมิของอากาศลดลง อากาศจะสูญเสียความสามารถนั้น ซึ่งเมื่ออากาศเย็นลงจนถึงจุดที่เรียกว่า จุดน้ำค้าง (Dew point) หรือจุดอุณหภูมิที่ปริมาณของไอน้ำในอากาศคงที่ นั่นหมายความว่า อากาศจะอิ่มตัวและไม่สามารถกักเก็บไอน้ำได้มากกว่าที่เป็นอยู่ และหากอุณหภูมิยังคงลดต่ำเรื่อยๆ ไอน้ำจะเกิดการควบแน่น (Condensation) และเปลี่ยนสถานะเป็นของเหลว  

8396 2

ภาพที่ 2 หมอกบนพื้นผิวน้ำ
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,12019

          อย่างไรก็ตามนอกจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิและความดันแล้ว การควบแน่นของไอน้ำจำเป็นต้องมีพื้นผิวให้หยดน้ำเกาะตัว นั่นจึงทำให้หมอกเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ เช่น เมื่ออุณหภูมิของอากาศบนพื้นผิวลดต่ำกว่าจุดน้ำค้าง จะทำให้ไอน้ำในอากาศที่อยู่เหนือพื้นดินเกิดการควบแน่นเป็นหยดน้ำเล็ก ๆ เกาะบนใบไม้หรือยอดหญ้าเหนือพื้นดิน หรือเมื่อมวลอากาศอุ่นที่มีความชื้นสูงปะทะกับพื้นผิวที่มีความเย็นเช่น ผิวน้ำในทะเลสาบ อากาศก็จะควบแน่นกลายเป็นหยดน้ำ ทำให้มองเห็นเป็นควันสีขาวลอยขึ้นเหนือพื้นน้ำ ซึ่งเป็นลักษณะเช่นเดียวกับหยดน้ำที่เกาะอยู่รอบแก้วน้ำแข็ง  

          ประเภทของหมอก

          หมอกมักมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันตามกระบวนทางกายภาพในการเกิดหมอก ดังนี้

  1. หมอกจากการแผ่รังสีความร้อน (Radiation fog) หมอกชนิดนี้มักจะเกิดขึ้นช่วงฤดูหนาว ในวันที่มีอากาศแจ่มใส โดยในช่วงเวลากลางคืน พื้นดินจะคายความร้อนด้วยการแผ่รังสีความร้อน จึงทำให้พื้นดินและอากาศที่ลอยเหนือพื้นดินเย็นลง เมื่ออุณหภูมิลดลงจะทำให้อากาศถูกลดความสามารถในการกักเก็บไอน้ำ เป็นเหตุให้เกิดการควบแน่นและกลายเป็นหมอก อย่างไรก็ดีหมอกชนิดนี้จะจางหายไปเมื่อพื้นดินอุ่นขึ้นจากพระอาทิตย์ที่โผล่ขึ้นในตอนเช้า
  2. หมอกจากการพาความร้อนในแนวนอน (Advection fog) เป็นหมอกที่เกิดขึ้นจากอากาศที่เคลื่อนตัวผ่านพื้นผิวที่เย็น จึงทำให้อากาศที่อยู่ต่ำกว่ามีอุณหภูมิลดลงจนต่ำกว่าจุดน้ำค้าง ตัวอย่างโดยทั่วไปที่พบได้บ่อยคือ เมื่อมวลอากาศอุ่น (Warm Front) เคลื่อนที่ผ่านพื้นผิวที่เย็นจัดของพื้นน้ำในทะเลจนเกิดเป็นหมอกทะเล
  3. หมอกลาดเนินเขา (Upslope fog) หรือหมอกภูเขา (Hill fog) เกิดขึ้นเมื่ออากาศเคลื่อนที่ตามลาดเขา อากาศยกตัวสูงขึ้นมีอุณหภูมิลดลง ก่อนจะกลั่นตัวกลายเป็นหมอก

8396 3

ภาพที่ 3 หมอกหุบเขา
ที่มา https://pixabay.com/th/ ,Hans

  1. หมอกหุบเขา (Valley fog) เป็นหมอกที่เกิดขึ้นเมื่ออากาศเย็นซึ่งความหนาแน่นสูงที่อยู่ในบริเวณพื้นที่สูง เคลื่อนตัวต่ำลงมายังพื้นที่ที่ต่ำกว่าเช่น บริเวณหุบเขา เป็นผลให้อุณหภูมิของอากาศบริเวณหุบเขาเย็นตัวลงจนเกิดการควบแน่นและกลายเป็นหมอก ในขณะที่ทัศนวิสัยเหนือหุบเขามีอากาศแจ่มใส
  2. หมอกน้ำแข็ง (Freezing fog)
  3. หมอกที่เกิดจากการระเหย (Evaporation fog) เป็นหมอกที่เกิดขึ้นจากการระเหยของไอน้ำจากแหล่งน้ำที่อุ่นเข้าสู่อากาศเย็นที่เคลื่อนที่ผ่าน ทำให้อากาศเย็นอิ่มตัวด้วยไอน้ำ และเกิดการควบแน่นจนกลายเป็นหมอก ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภทคือ หมอกในแนวปะทะอากาศ (Frontal fog) และหมอกไอน้ำ (Steam fog)

          Fog และ Mist ต่างกันอย่างไร?

8396 4

ภาพที่ 4 ทัศนวิสัยในการมองเห็นบนท้องถนน
ที่มา https://pixabay.com/th/, Seaq68

          หลายคนคงเคยสงสัยและตั้งคำถามถึงความแตกต่างระหว่างคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่มีความหมายเหมือนกัน (Synonym) อย่างคำว่า Fog และ Mist ซึ่งคำตอบของความสงสัยนั้นคือ ทัศนวิสัยในการมองเห็น (Visibility) หรือระยะทางไกลที่สุดซึ่งสามารถมองเห็นวัตถุได้ด้วยตาเปล่าและบอกได้ว่าวัตถุนั้นคืออะไร โดยหมอก (Fog) จะทำให้ทัศนวิสัยในแนวนอนที่พื้นผิวโลกลดลงเหลือน้อยกว่า 1,000 เมตร ในขณะที่หมอก (Mist) จะมีทัศนวิสัยมากกว่า 1,000 เมตร ทั้งนี้หมอกเป็นปรากฏการณ์ที่ส่งผลกระทบและเป็นอันตรายอย่างมากต่อการคมนาคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเดินทางทางอากาศ ดังนั้นการตรวจสอบสภาพอากาศก่อนการเดินทางเป็นหนึ่งในวิธีเตรียมความพร้อมสำหรับการเดินทางที่ปลอดภัย

แหล่งที่มา

Fog.
       Retrieved March 29, 2018,
       from https://en.wikipedia.org/wiki/Fog

Fog.
        Retrieved March 29, 2018, 
        from http://www.aeromet.tmd.go.th/met/story/show_9.htm

What is fog?
        Retrieved March 29, 2018, 
        from http://discoverymindblown.com/articles/what-is-fog/

Tom Gillespie. (2018, April 9). What is fog, what is the difference between fog and mist, and what causes it to form?
        Retrieved March 29, 2018, 
        from https://www.thesun.co.uk/news/2339888/uk-weather-fog-mist-causes-about/

Risar Gudewala. (2015, October 27). What is the difference between mist, fog, smog, haze and vog?
        Retrieved March 29, 2018, 
        from https://www.quora.com/What-is-the-difference-between-mist-fog-smog-haze-and-vog

 

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
หมอก, Fog, ละอองน้ำ, ไอน่ำ, อากาศ, การควบแน่น
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 12 มิถุนายน 2561
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของงาน
พรรณพร กะตะจิตต์
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
เคมี
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 8396 ความ (ไม่) ลับของหมอก /article-chemistry/item/8396-2018-06-01-02-47-46
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
คุณอาจจะสนใจ
การสกัดเย็น
การสกัดเย็น
Hits ฮิต (7547)
ให้คะแนน
สมัยนี้อะไรที่ว่าเป็นผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติต่างก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก และพอดีที่มีคนมาถามเกี่ยว ...
มลพิษในควันรถ
มลพิษในควันรถ
Hits ฮิต (7534)
ให้คะแนน
มนุษย์ทั่วโลกในปัจจุบันมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล่อยของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และแน่นอน ไม่ต้องสงสัยเลย ...
แก๊ส NGV และ LPG
แก๊ส NGV และ LPG
Hits ฮิต (31518)
ให้คะแนน
การรณรงค์การประหยัดน้ำมัน วิธีการหนึ่งที่จะช่วยทั้งประหยัดน้ำมันและเงินในกระเป๋า ก็คือการหันมาใช้แก ...
คุณอาจจะสนใจ
Recently added
  • หินปูน (limestone)...
  • Amazing Science วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์ Season 2 ตอน ลูกโป่งสวรรค์...
  • เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับความลึกของท้องทะเล ตอนที่ 2...
  • หินปูนที่มีซากดึกดำบรรพ์ (fossilliferous limestone)...
  • สนุกคิดคณิตศาสตร์ ตอน การคูณจำนวนหลายหลัก...
อ่านต่อ..

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Scimath คลังความรู้
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทรศัพท์ : 02-392-4021 ต่อ 7070 (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)